การประเมินและการจัดการพื้นที่ปนเปื้อน

การประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 (Phase 2 ESA)

การประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 (Phase 2 ESA) หมายถึงการตรวจสอบประเมินผลการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินตามมาตรฐานสมาคมการทดสอบและวัสดุอเมริกัน (American Society for Testing and Materials, ASTM) ASTM E1903-19 ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องหลังจากการประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 โดยหากมีข้อบ่งชี้ว่าพื้นที่ศึกษานั้นมีแนวโน้มการปนเปื้อนเนื่องจากกิจกรรมที่เคยเกิดขึ้นในอดีตหรือจากกิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันภายในพื้นที่ศึกษาหรือพื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่ศึกษาโดยรอบ โดยการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 จะดำเนินการเพื่อเป็นการยืนยันสถานะการปนเปื้อนของพื้นที่ศึกษา ซึ่งโดยทั่วไปการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 นั้นมักจะเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมเพื่อการเข้าถือสิทธิ์ของกิจการหรือการแยกส่วนธุรกิจ (การจัดการความเสี่ยงในการซื้อขายธุรกิจ) หรือเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายของประเทศนั้น ๆ (การปฏิบัติตามกฎหมาย) เช่น กฎหมายในประเทศไทย

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล สามารถให้บริการด้านการประเมินพื้นที่ปนเปื้อน โดยเรามีการบริหารจัดการอย่างครบวงจรตั้งแต่การประเมินพื้นที่เบื้องต้น, การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 ไปจนถึงการประเมินทางสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียดในขั้นที่ 2 เพื่อสำรวจว่าพื้นที่มีการปนเปื้อนหรือไม่ และหากพบว่าผลการปนเปื้อนเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง จะต้องดำเนินการประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 3 (Phase 3 ESA) (การฟื้นฟูการปนเปื้อนพื้นที่โครงการ)

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเรามีศักยภาพและประสบการณ์ในการให้บริการด้านการประเมินทางด้านสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 ให้กับลูกค้าในหลายภาคธุรกิจทั่วทั้งอาเซียน

การรับประกันและการควบคุมคุณภาพของเราเป็นไปตามมาตรฐานที่สำคัญในการตรวจประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 ด้วยเหตุนี้เราจึงว่าจ้างเฉพาะผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ภายใต้การกำกับดูแลของเราอย่างเข้มงวดเท่านั้น เช่น การเก็บตัวอย่างดิน, การขุดเจาะดินและการติดตั้งบ่อน้ำบาดาล โดยลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าตัวอย่างดินและน้ำใต้ดินที่เก็บมานั้นซึ่งถือว่าเป็นสารเคมีอันตรายที่ถูกระบุมาจากการประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 จะได้รับการตรวจวิเคราะห์ว่าอาจมีการปนเปื้อนในพื้นที่ศึกษา และการตรวจวิเคราะห์จะดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการที่ผ่านการตรวจสอบจากเราแล้วว่าได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO: 17025 รวมถึงการรับรองตามข้อกำหนดของประเทศนั้น ๆ ด้วย

ในบางกรณี ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์สารเคมีจะต้องมีการประเมินทางสถิติอย่างละเอียดเพื่อเป็นตัวแทนความเข้มข้นของสารปนเปื้อนอันตรายและเพื่อใช้ในการตรวจเทียบกับมาตรฐานที่เหมาะสมของแต่ละประเทศ (Tier 1 Risk Screening Levels) หากค่าของสารปนเปื้อนนั้นเกินกว่ามาตรฐานอาจจะต้องมีการดำเนินการในขั้นตอนต่อไปซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ (Quantitative Risk Assessment, QRA) โดยการใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ในการระบุเป้าหมายของระดับสารปนเปื้อนที่จะทำการฟื้นฟูจำเพาะในแต่ละพื้นที่ (Tier 2 Site Specific Screening Levels, SSTLs) เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับผลตรวจวิเคราะห์สารเคมีในการระบุสถานะของสารปนเปื้อนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

โดยเป้าหมายสูงสุดของการประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 นั้นจัดทำขึ้นเพื่อตรวจสอบว่าพื้นที่ศึกษาที่มีการปนเปื้อนนั้นมีความเสี่ยงที่จะผลส่งกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้หรือไม่ ถ้าการเปรียบเทียบระบุว่าสารปนเปื้อนมีความเข้มข้นเกินมาตรฐาน SSTLs พื้นที่ศึกษาทั้งหมดหรือบางส่วนนั้นจะถูกประเมินว่าเป็นพื้นที่ปนเปื้อนที่จำเป็นต้องจัดทำมาตรการการจัดการความเสี่ยง การฟื้นฟูทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 3 นั้นถือเป็นขั้นตอนที่จำเป็นหากผลการวิเคราะห์จากการสร้างแบบจำลองการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณบ่งชี้ว่าพื้นที่ศึกษามีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนสูง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหรือมนุษย์ที่ได้รับสัมผัสการปนเปื้อน การฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินเป็นการดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนโดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การบำบัด, การตรึงหรือการกำจัดสารปนเปื้อนที่อยู่ในดินและน้ำใต้ดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

โดยเป้าหมายสูงสุดของการประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 นั้นจัดทำขึ้นเพื่อตรวจสอบว่าพื้นที่ศึกษาที่มีการปนเปื้อนนั้นมีความเสี่ยงที่จะผลส่งกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้หรือไม่

การประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2

ที่เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล เรามีความเชี่ยวชาญในการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่มีความจำเพาะเจาะจงตามชนิดของสารปนเปื้อนที่ตรวจพบในแต่ละพื้นที่ศึกษาเพื่อใช้ในการประเมินและช่วยในการระบุขอบเขตพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีการดำเนินการบำบัดฟื้นฟู

แบบจำลองการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ (QRA) เฉพาะสถานที่ ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือการประเมินด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมโดยการนำเอาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบจำลองที่แสดงถึงการเคลื่อนที่ของสารปนเปื้อนในดิน, น้ำและอากาศ เพื่อประเมินความเสี่ยงของผู้ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อน โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีโอกาสได้รับสัมผัสการปนเปื้อนผ่านตัวกลางนั้นมักจะเป็นมนุษย์ เช่น ผ่านทางการบริโภค, ทางการหายใจหรือทางผิวหนัง หรืออาจเป็นสิ่งแวดล้อมเสียเองทีได้รับการปนเปื้อน เช่น สิ่งมีชีวิตในน้ำหรือคุณภาพน้ำที่เสื่อมลง โดยแบบจำลองการประเมินความเสี่ยงนั้นสามารถทำได้ทั้งแบบเดินหน้า (forward mode) เพื่อหาตำแหน่งที่สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มีโอกาสที่จะสัมผัสกับการปนเปื้อนและเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องต่อไป แบบจำลองการปนเปื้อนนั้นยังสามารถประเมินแบบถอยหลัง (backward mode) เพื่อระบุเป้าหมายตำแหน่งที่ความเข้มของสารปนเปื้อนนั้นมีค่าเกินมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะใช้เป็นจุดอ้างอิงในการดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ต่อไป

สถานการณ์และตัวแปรที่ใช้ในการจำลองนั้นอาจจะมีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ทำการศึกษา ในบางครั้งที่สภาพของระบบอุทกวิทยาของน้ำใต้ดิน (ทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน) นั้นมีความซับซ้อน แบบจำลองที่สร้างขึ้นอาจต้องใช้แบบจำลองเชิงลึกที่ผ่านการคำนวนหลาก หลายขั้นตอน ซึ่งจะสามารถใช้ประเมินกระบวนการนำพาและการแบ่งวัฏภาคที่เกิดขึ้นในชั้นธรณีในระหว่างการเคลื่อนตัวของสารปนเปื้อนผ่านตัวกลางได้อย่างชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีแบบ จำลองที่สร้างขึ้นตามแบบความน่าจะเป็น ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการประเมินความแปรปรวนของสถานการณ์จำลองต่าง ๆ โดยแบบจำลองเหล่านี้มักจะรายงานผลในรูปแบบของความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นและระดับของช่วงความเชื่อมั่น

การสร้างแบบจำลองเชิงปริมาณ (QRA) จะช่วยกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีการจัดทำมาตรการการจัดการความเสี่ยงซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่เหมาะสมในขั้นตอนการดำเนินการทางวิศวกรรม ดังนั้นการสร้างแบบจำลอง QRA จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการดังกล่าว โดยเรามีบริการการสร้างแบบจำลอง QRA ทั้งในรูปแบบการประเมินที่มีการกำหนดตัวแปรที่แน่นอน (Deterministic QRA) และในลักษณะที่มีตัวแปรสุ่ม (Probabilistic QRA) เรามีความเชี่ยวชาญในการสร้างแบบจำลอง QRA สำหรับสุขภาพของมนุษย์ น้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน รวมถึงผู้รับผลกระทบทางระบบนิเวศ ผู้เชี่ยวชาญของเรามีประสบการณ์ในการสร้างแบบจำลองที่มีความซับซ้อนเพื่อใช้ในการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ศึกษาบางโครงการ รวมถึงงานเขียน และงานนำเสนอในระดับสากล

เรามีความเชี่ยวชาญในการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่มีความจำเพาะเจาะจงตามชนิดของสารปนเปื้อนที่ตรวจพบในแต่ละพื้นที่ศึกษาเพื่อใช้ในการประเมินและช่วยในการระบุขอบเขตพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีการดำเนินการบำบัดฟื้นฟู

การฟื้นฟูทางสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 3

การฟื้นฟูทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 3 นั้นถือเป็นขั้นตอนที่จำเป็นหากผลการวิเคราะห์จากการสร้างแบบจำลองการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณบ่งชี้ว่าพื้นที่ศึกษามีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนสูงซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหรือมนุษย์ที่ได้รับสัมผัสการปนเปื้อนการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดิน เป็นการดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนโดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การบำบัด, การตรึงหรือการกำจัดสารปนเปื้อนที่อยู่ในดินและน้ำใต้ดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล มีความเชี่ยวชาญในการประเมินทางเลือกการดำเนินการฟื้นฟูเพื่อหาวิธีการบำบัดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพื้นที่ศึกษาที่มีการปนเปื้อน การดำเนิน งานนี้จะประกอบไปด้วยการจัดเตรียมแผนปฏิบัติการฟื้นฟู (Remediation Action Plan, RAP) สำหรับพื้นที่ที่มีการปนเปื้อน ซึ่งรวมไปถึงการออกแบบแผนการฟื้นฟูและวิธีการดำเนินงานในพื้นที่อย่างละเอียด ทั้งนี้เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับทางผู้รับเหมาได้

ทีมของเรามีประสบการณ์ในการออกแบบ จัดการและดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนตามงบประมาณและแผนงานที่กำหนดให้แก่โครงการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่มีความซับซ้อนหลายโครงการทั่วโลก เรามีการออกแบบ การวางแผนงาน การดำเนินการ การตรวจสอบความถูกต้องตลอดจนการดำเนินการฟื้นฟู รวมถึงจัดทำรายงานสรุปการตรวจสอบการฟื้นฟูหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ ซึ่งรายงานจะประกอบไปด้วยบันทึกการทำงานทั้งหมดพร้อมภาพประกอบ ผลการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและข้อมูลการติดตามตรวจสอบการปนเปื้อน

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล มีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีการฟื้นฟูที่หลากหลายซึ่งรวมถึงวิธีการทางวิศวกรรมแบบดั้งเดิม เช่น การจัดเก็บและเคลื่อนย้ายออกนอกสถานที่ไปยังหลุมฝังกลบขยะอันตรายและการบำบัดที่เฉพาะทาง เช่น การบำบัดทางชีวภาพ, การล้างดินและการออกซิไดซ์ด้วยสารเคมีในพื้นที่ที่ปนเปื้อน บุคลากรของเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลนั้นมีประสบการณ์ในการให้บริการการฟื้นฟูทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 3 โดยเราได้ให้บริการทั้งในนามของลูกค้าต่างประเทศและนักพัฒนาโครงการในท้องถิ่นครอบคลุมหลากหลายภาคส่วนธุรกิจ ได้แก่ เคมีภัณฑ์, การผลิต, อุตสาหกรรมหนัก, น้ำมันและก๊าซและการพัฒนาปรับปรุงผังเมือง หากทางลูกค้าสนใจตัวอย่างโครงการ สามารถติดต่อเราเพื่อขอพิจารณาดูข้อมูลตัวอย่างโครงการพร้อมรายละเอียดอ้างอิง

งานบริการหลัก

  • การประเมินทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 (ASTM E1903-19)
  • การสำรวจการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน
  • การออกแบบการสำรวจพื้นที่ การกำกับดูแล และการรายงาน
  • การติดตามตรวจสอบภาคสนามและการเก็บตัวอย่าง
  • การจัดทำข้อกำหนดในสัญญาจ้างและแผนสุขภาพ และความปลอดภัย
  • การสร้างแบบจำลองการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
  • การคัดกรองการปนเปื้อนระดับ Tier 2
  • การกำหนดการฟื้นฟูพื้นที่เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
  • การประเมินทางเลือกการฟื้นฟู
  • การกำหนดแผนการฟื้นฟู
  • การออกแบบและกำหนดรายละเอียดการฟื้นฟู
  • เทคโนโลยีการฟื้นฟูทั้งในและนอกพื้นที่
  • การควบคุมงานและการประกันคุณภาพ
  • รายงานการตรวจสอบการฟื้นฟู
  • ขั้นตอนการ QA/QC ที่เข้มงวด

Featured Projects

การปรับปรุงคุณภาพดิน

การปรับปรุงคุณภาพดิน

ที่ตั้งโครงการ: ประเทศไทย
ลักษณะโครงการ: โรงงานหล่อเหล็ก
ภาคอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมหนัก

20220607051610
การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2: การสำรวจการปนเปื้อนของดินและน้ำใต้ดิน

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2: การสำรวจการปนเปื้อนของดินและน้ำใต้ดิน

ที่ตั้งโครงการ: ประเทศไทย
ลักษณะโครงการ: โรงทอผ้าไลโอเซลล์
ภาคอุตสาหกรรม: สิ่งทอและเส้นใย

20220607045835