การประเมินผลกระทบและการวางแผนงาน

การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Impact Assessment, ESIA) เป็นกระบวนการศึกษาและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้น เช่น การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ การก่อสร้าง หรือการดำเนินการของโรงงานที่เกิดขึ้นใหม่ โดยจุดประสงค์หลักในการ ศึกษา ESIA  นั้นเพื่อศึกษาผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบของโครงการที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม  ที่อยู่โดยรอบโครงการดังกล่าว เพื่อกำหนดมาตรการในการดำเนินการแก้ไข รวมถึงการวางแผนบรรเทาผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ แต่ยังคงผลกระทบที่เกิดขึ้นในทางบวกไว้ได้ซึ่งถือเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นกระบวนการการศึกษาที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจจากผู้ชำนาญการในหลายสาขาวิชาในระหว่างการจัดทำ ESIA ซึ่งเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลมีความพร้อมและสามารถทำการศึกษา ESIA ได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ

  • การประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Due Diligence, ESDD)
  • การสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสิ่งแวดล้อม (อากาศ, ชั้นตะกอน, ดิน, คุณภาพน้ำ, การจราจร, เสียงและความสั่นสะเทือน เป็นต้น)
  • การสำรวจข้อมูลทางนิเวศวิทยาพื้นฐาน (ถิ่นที่อยู่อาศัย, การสำรวจพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์, การประเมินความหลากหลายทางนิเวศวิทยา เป็นต้น)
  • การสำรวจข้อมูลพื้นฐานการจราจร
  • การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคม
  • รวบรวมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเตรียมแผนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement Plans, SEPs)
  • การเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะและการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายระดับ
  • โมเดลการกระจายตัวของอากาศ (Air Dispersion Modelling, ADM) และประเมินปริมาณของก๊าซเรือนกระจก (GHGQ)
  • การวิเคราะห์ทางเลือก (Analysis of Alternatives)
  • การระบุและประเมินผลกระทบ
  • การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment, HIA)
  • แผนการจัดการและการตรวจติดตามด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
  • การเตรียมแผนการจัดการทางสิ่งแวดล้อมและรายละเอียดส่วนย่อย (เช่น แผนการจัดการขยะ, แผนการจัดการการรั่วไหลของน้ำมัน เป็นต้น)

เรามีความเชี่ยวชาญในการจัดทำ ESIA เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายของแต่ละประเทศ รวมถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของสถาบันการเงินระดับสากล (IFC และ ADB)

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลมีประสบการณ์มากมายในการบริการจัดทำ ESIA ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนให้กับกลุ่มลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจน้ำมันและก๊าซ, ธุรกิจด้านการเกษตร, สินค้าโภคภัณฑ์, พลังงาน, อุตสาหกรรม, พลังงานทดแทน, การท่องเที่ยวและการโรงแรม, การพัฒนาผังเมือง และการจัดการขยะ เรามีความเชี่ยวชาญในการจัดทำ ESIA เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายของแต่ละประเทศและตามมาตรฐานระดับชาติของสถาบันการเงินระดับสากล (IFC และ ADB) ธนาคารเพื่อการส่งออกและธนาคารเพื่อการลงทุนระหว่างประเทศ (หลักการอีเควเตอร์) นอกจากนี้เรายังให้บริการเป็นที่ปรึกษาอิสระและตรวจสอบรายงานในนามของผู้ให้กู้และผู้ลงทุน

บุคลากรที่เชี่ยวชาญของเรามีประสบการณ์ที่ครอบคลุมในการนำเสนอโครงการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน 

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล เป็นบริษัทที่โดดเด่นในตลาดอาเซียนที่ให้บริการด้านการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีคุณภาพสูง เนื่องด้วยการผสมผสานความเชี่ยวชาญในระดับสากลกับความเข้าใจเชิงลึกในระบบกฎหมายในภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน เนื่องจากเรามีประสบการณ์ในการจัดทำ ESIA ในนามของลูกค้าระดับนานาชาติ และลูกค้าในระดับท้องถิ่นโดยเราสามารถให้ข้อมูลอ้างอิงของโครงการเหล่านี้ได้หากลูกค้าต้องการ

งานบริการหลัก

การกำหนดขอบเขตและการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

  • การสำรวจพื้นที่และการสำรวจพื้นดิน
  • การคัดกรองและการกำหนดขอบเขตการศึกษา
  • การศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม (EBS)
  • การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคม (SEBS)
  • วิเคราะห์และจัดทำรายการผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การปรึกษาหารือกับชุมชน/การมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเบื้องต้น
  • การศึกษาด้านวัฒนธรรม โบราณคดี และมรดกทางวัฒนธรรม
  • การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางนิเวศวิทยาทางน้ำและทางบก
  • การศึกษาด้านนิเวศวิทยาทางทะเลและชายฝั่ง
  • การประเมินระบบนิเวศ ขั้นที่ 1, 2 และ 3
  • การสำรวจคุณภาพอากาศ ดิน และคุณภาพน้ำ
  • เสียงและความสั่นสะเทือน
  • ระบบแผนที่และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (GIS)

การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESIA)

  • คำอธิบายรายละเอียดโครงการ
  • กรอบนโยบายและกรอบการบริหารตามข้อกฎหมาย
  • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • การประเมินผลกระทบด้านเศรฐกิจสังคมและวัฒนธรรม
  • แบบจำลองการกระจายตัวของอากาศและการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  • การประเมินผลกระทบทางนิเวศวิทยา
  • การประเมินผลกระทบสะสม
  • การวิเคราะห์ทางเลือก
  • ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ

แผนการจัดการสิ่งแวดล้อมและสังคม

  • แผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและแผนการตรวจสอบ/แผนการจัดการและแผนการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (EMMP)
  • แผนการบริหารและติดตามตรวจสอบด้านเศรษฐกิจสังคม (SMMP)
  • แผนปฏิบัติการด้านสังคม ได้แก่ แผนการเพื่อการโยกย้ายถิ่นที่ อยู่อาศัย, แผนปฏิบัติการเพื่อการฟื้นฟูปรับปรุงความเป็นอยู่ และแผนการพัฒนาชุมชน
  • การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย, การปรึกษาหารือ และการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ
  • แผนการจัดการของเสีย
  • แผนการจัดการของเสียอันตราย
  • แผนการจัดการน้ำเสีย
  • แผนการตอบสนองการรั่วไหล
  • แผนปฏิบัติการคุณภาพอากาศ

โครงการที่โดดเด่น