ข่าวประชาสัมพันธ์: 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ในปี พ.ศ. 2551 รวมมูลค่ากว่า 273 พันล้านดอลลาร์สหรัฐรองจากประเทศอินโดนีเซีย มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวมมูลค่ากว่า 9.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยนักลงทุนประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ไต้หวัน สิงค์โปร์ สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง รวมถึงการลงทุนจากประเทศอินเดียที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยมีบริษัทต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนมากมาย เช่น บริษัท Chery Automobiles, Mitsubishi, Toyota, Tata Motors, Arcelor-Mittal, General Motors, ING Honda, Nissan และ Ricoh รวมไปถึง บริษัท Chevron ที่ได้ริเริมลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพด้านน้ำมันและก๊าซในประเทศไทย โดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทาง Chevron คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในปริมาณ 420 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และมีแผนขยายการผลิตเป็นหนึ่งพันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในอนาคตอันใกล้
ในด้านการลงทุน ประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนแบบเสรี มีข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศสำคัญหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน (ข้อตกลงเขตการค้าเสรีจีน – อาเซียน (CAFTA) ในปี พ.ศ. 2553) ประเทศญี่ปุ่น ในการทำข้อตกลงครั้งนั้นทำให้ 92% ของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นได้รับการปรับภาษีเป็น 0 หรือถือเป็นสินค้าปลอดภาษีในช่วงระยะเวลา 10 ปี นอกจากนี้ยังมีข้อตกลงกับประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ประเทศไทยยินดีต้อนรับนักลงทุนจากต่างประเทศในทุกภาคส่วน ยกเว้นโครงการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ การเกษตรและการประมง รวมไปถึงสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ประเทศไทยยังให้การสนับสนุนมาตรการต่างๆที่ส่งเสริมการลงทุน เช่น การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายในหนึ่งวัน และการลดจำนวนผู้ถือหุ่นขั้นต่ำจากเจ็ดเป็นสาม เป็นต้น
SLP Environmental มีบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมครอบคลุมในหลายแขนง รวมถึงบริการ sub-consultancy ให้แก่ลูกค้าต่างชาติเพื่อเป็นการสนับสนุนการทำธุรกรรมทางธุรกิจ เช่น การรวมกิจการ การเลิกกิจการ และการขายกิจการ เราเข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจสอบสถานะของกิจการ หรือที่เรียกกันว่าการประเมินพื้นที่ด้านสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 รวมถึงการประเมินความสอดคล้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประเมินความเสี่ยงและการจัดการด้านการเงินที่มีความละเอียดอ่อนต่อการทำธุรกรรมทางธุรกิจ
เรามุ่งมั่นให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพแก่ลูกค้า โดยยึดหลักมาตรฐานระดับสากล เช่น ISO 14015 และ ASTM E1527-05 ผสมผสานกับโครงร่างข้อกำหนดกฎหมายของประเทศไทย และเพื่อให้ลูกค้าสามารถจัดการกับความไม่แน่นอนและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำภายในกรอบเวลาที่จำกัด เราจึงใส่ใจในรายละเอียดและคิดอย่างรอบคอบให้เหมาะกับแผนงานของลูกค้าโดยเฉพาะ โดยคำนึงถึงปัจจัยเชิงพาณิชย์และการสื่อสารที่ชัดเจน
เรามีประสบการณ์การทำงานให้กับโครงการในหลายภาคส่วน อันได้แก่ ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมการผลิต ปิโตรเคมี เภสัชกรรม พลังงาน และโทรคมนาคม จากลูกค้าหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการกองทุน ผู้พัฒนาโครงการ บริษัทประกัน บริษัททางกฏหมาย องค์กรการบริหารความเสี่ยงและการจัดการด้านการเงิน บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ รวมถึงบริษัทชั้นนำอีกมากมาย
SLP Environmental มีบริการให้คำปรึกษาในการประเมินพื้นที่ด้านสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 ซึ่งเป็นการตรวจสอบพื้นที่ โดยจะมีการเก็บตัวอย่างดินและน้ำใต้ดินไปทดสอบทางเคมี การทำเช่นนี้ เป็นการทำให้ทราบถึงลักษณะทางธรรมชาติของพื้นที่ ขอบเขตการปนเปื้อน แหล่งที่มาของการปนเปื้อน และระดับความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพของน้ำในท้องถิ่น รวมถึงความเสี่ยงต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ในกรณีที่การประเมินขั้นที่ 2 บ่งชี้ว่า พื้นที่มีความเสี่ยงสูงที่จะสามารถส่งผลกระทบแก่ผู้ใช้งานบนพื้นนั้น การฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนขั้นที่ 3 ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
นอกจากนี้ ทีมผู้บริหารของ SLP Environmental ยังเป็นสมาชิกของ Chartered Environmentalists (CEnv) และ Chartered Scientists (CSci) รวมถึง Due Diligence and Environmental Compliance Consultants Groups ประเทศอังกฤษ ดังนั้นการให้บริการในด้านต่างๆของเราจึงเป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นการประเมินพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกรรมทางธุรกิจ (EDD) หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินพื้นที่ด้านสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 (ESA) รวมถึงการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย (EHS) โดยเรามีบริการครอบคลุมพื้นที่ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม