พื้นที่สัมปทานขนาด 2,200 เฮกแทร์ ณ ประเทศกัมพูชา
บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล (ประเทศกัมพูชา) ได้รับมอบหมายให้ทำการศึกษาขอบเขตสำหรับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม (ESIA) ในบริเวณพื้นที่สัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจขนาด 2,200 เฮกแทร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ลูกค้ามีวัตถุประสงค์ที่จะทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินเพื่อทำธุรกิจการเกษตร และเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจประเมินก่อนการซื้อขายของลูกค้า รวมถึงประเมินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ลูกค้าได้มอบหมายให้ทาง บริษัท เอสแอลพี ทำการตรวจจสอบ และจัดทำรายงานการศึกษาขอบเขตการประเมินผลกรทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการจัดทำคือ:
- ให้ผู้เชี่ยวชาญโครงการมีความคุ้นเคยกับพื้นที่ศึกษา
- ทำการตรวจประเมินลักษณะทางกายภาพ และชีวภาพของสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
- ทำการตรวจประเมินด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเบื้องต้น
- ระบุผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม
- กำหนดขอบเขตและสภาพที่ชัดเจนของพื้นที่ศึกษาสำหรับการจัดทำ ESIA ในขั้นตอนต่อไป
- ออกแบบแผนการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างละเอียด
การสำรวจภาคสนามใช้เวลาทั้งหมด 7 วัน โดยทีมสำรวจซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับอาวุโสด้านสิ่งแวดล้อม นักสังคมศาสตร์ นักนิเวศวิทยา และนักภูมิสารสนเทศ ลงสำรวจพื้นที่ศึกษาและพื้นที่โดยรอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ ซึ่งก่อนการลงภาคสนามทาง บริษัท เอสแอลพี ได้พิจารณาภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความละเอียดสูง และกำหนดพื้นที่เป้าหมายสำหรับทีมสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและระบุแหล่งที่อยู่อาศัยหลักภายในพื้นที่ศึกษา รวมไปถึงตรวจหาพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม
การสำรวจทางนิเวศน์วิทยานั้นจะมีการบันทึกชนิดของสิ่งมีชีวิตและพันธุ์ไม้ต่างๆ ตลอดเส้นทางการสำรวจ รวมไปถึงสัตว์ป่าในพื้นที่โดยใช้เทคนิคการสำรวจทั้งทางตรงและทางอ้อม บริษัท เอสแอลพี ทำการสำรวจพื้นที่ตั้งแต่เวลาเช้าเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และระบุสายพันธ์ของสัตว์จากหลักฐานที่มองเห็น และเสียงที่ได้ยิน เพื่อนำมาประกอบการศึกษาเช่น มูลสัตว์ แหล่งอาหาร รอยเท้า และร่องรอยต่างๆบนต้นไม้ รวมไปถึงการสอบถามคนในท้องที่เพื่อเป็นการยืนยันสายพันธุ์ของสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ปรากฏภายในพื้นที่ และทำให้เข้าใจถึงลักษณะ ความเป็นอยู่อาศัย และการใช้พื้นที่ป่าของคนในชุมชนเพื่อนำไปประกอบการศึกษาต่อไป
นอกจากนี้เรายังทำการสำรวจแหล่งน้ำถาวรและแหล่งน้ำตามฤดูกาลที่ไหลผ่านบริเวณพื้นที่ศึกษา เพื่อระบุบริเวณที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจติดตาม และเก็บตัวอย่างที่จะต้องดำเนินการในขั้นตอนการสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม โดยทุกจุดที่ถูกเลือกนั้นจะถูกบันทึกพิกัด และมีการถ่ายภาพพื้นที่ที่เป็นจุดเด่นเก็บไว้ เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลระบุลงในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) หลังจากเสร็จสิ้นการสำรวจภาคสนาม ทาง บริษัท เอสแอลพี ได้จัดทำรายงานผลการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมโดยมีการระบุถึงปัจจัยสำคัญที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม รวมไปถึงให้ข้อเสนอแนะในส่วนของการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสังคม และระบุข้อกำหนดขอบเขตงานสำหรับการศึกษา ESIA ในขั้นต่อไป