พื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
ทีมงานเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับมอบหมายจากลูกค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคจากสหรัฐอเมริกา ให้จัดทำรายงานการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2 บนพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย การประเมินครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมการซื้อขาย เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาการซื้อที่ดิน โดยจุดประสงค์หลักของการตรวจสอบครั้งนี้ คือ เพื่อประเมินว่ากิจกรรมและการปฏิบัติงานในอดีตนั้นส่งผลให้มีการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินในพื้นที่หรือไม่ และเพื่อปฏิบัติตามมาตรา 4 ของ กฎกระทรวง ควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ําใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. 2559
การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 ประกอบด้วย การสำรวจพื้นที่โครงการ การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการปรึกษาหารือกับเจ้าของที่ดินและที่ดินรอบข้าง นอกจากนี้เรายังทำการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการใช้ที่ดิน ลักษณะทางกายภาพ และสภาพแวดล้องทางธรรมชาติ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปพัฒนากรอบแนวความคิดที่แสดงลักษณะพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษ (Conceptual Site Model: CSM) และยังช่วยให้เราวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของพื้นที่ว่ามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของดินและน้ำใต้หรือไม่
การตรวจสอบพื้นที่ในขั้นที่ 2 นั้น จะมุ่งเน้นไปในบริเวณที่มีความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนในพื้นที่โครงการซึ่งได้ระบุไว้ในการประเมินขั้นที่ 1 โดยขอบเขตของงานประกอบด้วยการเจาะสำรวจชั้นดินทั้งหมด 5 จุด การขุด Trial Trench 3 จุด การดำเนินการเก็บตัวอย่างดินในแต่ละจุด การติดตั้งบ่อสังเกตการณ์น้ำใต้ดิน ณ จุดที่มีเจาะสำรวจชั้นดิน และการเก็บตัวอย่างน้ำใต้ดิน โดยตัวอย่างน้ำที่เก็บได้นั้นจะมีการตรวจวัดพารามิเตอร์ภาคสนาม เช่น ค่า pH EC DO ซึ่งตัวอย่างดินและน้ำใต้ดินที่เก็บได้จะนำส่งไปยังห้องปฏิบัติการทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO:17025 เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนต่างๆ
ทำการสำรวจพิกัดและระดับความสูงของบ่อสำรวจ ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์หาทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน โดยทุกขั้นตอนของการสำรวจและการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้น ทางเรามีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด โดยผลการตรวจสอบจากทางห้องปฏิบัติการจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของประเทศไทย และ US EPA เพื่อระบุสถานะการปนเปื้อนของพื้นที่ โดยรายงานจะประกอบไปด้วยการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2 รวมอยู่ภายในเล่มเดียวกัน ตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด และตามมาตรฐาน ASTM โดยจัดทำรายงานเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ