สิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (Environmental, Social Governance, ESG) เป็นคำทั่วไปที่บรรดาเหล่านักลงทุนใช้เพื่อเป็นเกณฑ์การประเมินพฤติกรรม และประสิทธิภาพขององค์กรโดยไม่มีผลกำไรมาเกี่ยวข้อง โดยเกณฑ์การประเมิน ESG นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งตัวชี้วัดประสิทธิภาพขององค์กรในแง่มุมที่ไม่เกี่ยวข้อง กับผลกำไรซึ่งครอบคลุมไปถึงประเด็นด้านความยั่งยืน, จริยธรรมและบรรษัทภิบาล เช่น การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ขององค์กรและยังเพื่อ ให้มั่นใจว่าองค์กรเหล่านั้นมีระบบที่จะรับประกันความรับผิดชอบที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย
การที่องค์กรมีการพัฒนาและนำระบบ ESG มาปรับใช้ดำเนินการนั้นเป็น การสร้างโอกาสให้องค์กรสามารถประเมินและตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกในด้านสิ่งแวดล้อม, ลดผลกระทบด้านสังคมภายในชุมชนที่อาจ เกิดขึ้นจากกิจกรรมขององค์กรและยังรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานภายในองค์กรและยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าองค์กรนั้นมีความใส่ใจและตั้งใจที่จะพัฒนาไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้อีกด้วย ดังนั้นการพัฒนาระบบการจัดการด้าน ESG จึงเปรียบเสมือนก้าวแรกเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายของบริบทที่ยิ่งใหญ่กว่าใน การดูแลประชากรรวมถึงโลกของเราซึ่ง ไม่ใช่แค่มุ่งเพียงแต่ฐานะทางการเงินขององค์กรเท่านั้น
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าองค์กรต่าง ๆ ที่ได้นำ ESG ไปดำเนินการปรับใช้นั้นสามารถสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจ 5 ประการที่เป็น รูปธรรม อันได้แก่
- สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
- ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน (Cost Reduction)
- สร้างความน่าดึงดูดแก่ผู้ปล่อยสินเชื่อและนักลงทุน (More Attractive to Lenders and Investors)
- ขยายโอกาสของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Prospects)
- ดึงดูดผู้มีความสามารถเข้ามาปฏิบัติงาน (Attraction and Retention of Talent)
ในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ESG ขององค์กรนั้นขั้นตอนแรกจำเป็นต้องมีการสร้างมาตรฐานที่เหมาะสมในการประเมินเสียก่อน โดยเอสแอลพี ได้นำเอามาตรฐานการประเมินด้าน ESG จากบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation (IFC)) มาปรับใช้เป็นหลักซึ่งประกอบไปด้วย มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards, PS) หลัก 8 ประการ ซึ่งจะกำหนดทิศทางความรับผิดชอบในการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและ สังคมขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นถูกเสริมด้วยวิธีการบรรษัทภิบาลตามหลักของ IFC ซึ่งเป็นการกำหนดวิธีการประเมินและพัฒนาการปกครองแบบมีธรรมภิบาลขององค์กรณ์ โดย ครอบคลุมไปถึงโครงสร้างของผู้มีอำนาจบริหารองค์กร เช่น ความหลากหลายคณะกรรมการบริหารบริษัท, ความมีจริยธรรมในการบริหาร, การจัดการความเสี่ยง, การเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะและความโปร่งใสในการบริหารงาน
นอกจากนี้มาตรฐานการปฏิบัติงานของ IFC ยังสนับสนุนหลักการอีเควเตอร์ (Equator Principles) ซึ่งเป็นกรอบการจัดการความเสี่ยงระดับสากล สำหรับการประเมินและจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งในขณะที่บทความนี้กำลังตีพิมพ์เองนั้น ได้มีสถาบันการเงินกว่า 134 แห่ง ใน 38 ประเทศ ได้นำกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของหลักการอีเควเตอร์มาดำเนินการอย่างเป็นทางการ
บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล สามารถนำมาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากหน่วยงานระดับนานาชาติอื่นๆ เช่น มาตรฐานการปฏิบัติงานของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ 8 ประการ (IFC Performance Standards no.1 – 8) นโยบายทั่วไปในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพความปลอดภัยของกลุ่มธนาคารโลก (WBG EHS General and Sector Specific Guidelines) ข้อกำหนดของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB’s Safeguard Requirements) กรอบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมตามข้อกำหนดของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB’s Environmental & Social Framework) อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศและมาตรฐานแรงงาน (ILO’s Conventions and Core Labour Standards) นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA Guidelines for E&S Considerations) มาปรับใช้ได้อีกด้วย
บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ให้บริการในการเป็นตัวแทนของผู้ให้กู้หรือนักลงทุนที่สนใจในด้าน ESG ที่ต้องการทำความเข้าใจถึงขีดจำกัดของความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมรวมถึงความน่าเชื่อถือต่างๆในช่วงเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจหรือการลงทุน และเรายังให้บริการแก่ผู้สนับสนุนหรือผู้กู้โครงการด้าน ESG แก่บริษัทหรือผู้ริเริ่มโครงการต่างๆ ที่ต้องการตรวจสอบเพื่อสร้างความมั่นใจถึงประสิทธิภาพการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือการบริหารจัดการนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอื่นๆที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับเงื่อนไขของแต่ละโครงการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ESG
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับงานบริการด้าน ESG ของเรา กรุณาไปที่หัวข้อ ESG & Environmental & Social Due Diligence