เมียนมาร์: การจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ

เมียนมาร์: การจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ

ในระยะเวลา 5 – 6 ปีมานี้ ประเทศเมียนมาร์มีความเจริญเติบโตในด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการเป็นอย่างมาก จากข้อมูลล่าสุดซึ่งตีพิมพ์โดย Myanmar Investment Commission (MIC) เปิดเผยว่า โรงแรมจำนวน 75 แห่ง และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการท่องเที่ยวนั้น ได้รับการอนุมัติการลงทุนเมื่อปลายเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมมากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศเมียนมาร์นั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามและหลากหลาย ทั้งกลุ่มเกาะมะริด (Myeik  Archipelago) พื้นที่สงวนชีวมณฑลทะเลสาปอินเล (Inle Lake) รวมถึงแนวเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของประเทศ นอกจากนี้ประเทศเมียนมาร์ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอันงดงาม ซึ่งถือเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอีกมากมาย ได้แก่ อาณาจักรพุกามเมืองมรดกโลก เมืองแห่งทะเลเจดีย์ และเมืองเมียวอู หรือมรัคอู เมืองสำคัญทางโบราณคดี (Bagan และ Myauk-U) รวมไปถึงกลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู หรือเมืองแปร (Pyu Ancient Cities)

ความสวยงามของธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศเมียนมาร์เป็นที่น่าสนใจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ทำให้เกิดการขยายตัวการลงทุนในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ มีโรงแรมและรีสอร์ทเกิดใหม่มากมายเพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกันการวางแผนและการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบของโครงการก่อสร้างโรงแรมและรีสอร์ทได้ทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวไปอย่างน่าเสียดาย

 

รัฐบาลเมียนมาร์ได้ตระหนักถึงปัญหาข้างต้น และเพื่อเป็นการป้องกันสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมิให้ถูกทำลาย รวมถึงเพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรม รัฐบาลเมียนมาร์จึงได้ประกาศใช้กฎหมายหลัก จำนวนสองถึงสามฉบับ โดยมีวัตถุประสงค์ให้โครงการต่างๆในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ ทำการพัฒนาโครงการอย่างระมัดระวัง และเป็นไปในลักษณะที่ยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดภัยคุกคามต่อทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากลายทางชีวภาพ และมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของประเทศ

โครงการโรงแรมหรือรีสอร์ทที่วางแผนไว้สำหรับบริเวณพื้นที่คุ้มครอง พื้นที่อ่อนไหวทางระบบนิเวศวิทยา หรือพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม โดยปกติเจ้าของโครงการจะต้องได้รับการอนุญาต หรือที่เมียนมาร์เรียกว่า Prior Permission ก่อน ซึ่งเจ้าของโครงการจำเป็นต้องจัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ส่งให้กับ Ministry of Natural Resources and Environmental Conservation (MONREC) เพื่อขอรับการอนุมัติที่จำเป็น และเพื่อให้ได้รับ Environmental Compliance Certificate (ECC) ก่อนที่จะมีการก่อสร้างโครงการ โดยส่วนมากนั้น ความยากง่ายและขอบเขตการศึกษา EIA ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง ลักษณะ และขนาดของโครงการ โดยทั่วไปแล้วโครงการขนาดเล็กในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวน้อยจะต้องจัดทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) ในขณะที่โครงการขนาดใหญ่ที่มีแผนพัฒนาในพื้นที่อ่อนไหว เช่น กลุ่มเกาะมะริด (Myeik  Archipelago) อินเล หรือพุกาม นั้น จะต้องจัดทำการศึกษา EIA ซึ่งจะครอบคลุมรายละเอียดมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าการศึกษาทั้งสองแบบที่กล่าวไปนั้นย่อมมีความแตกต่างในแง่ของต้นทุน และแผนงานอย่างมีนัยสำคัญ

 

 

บริษัท SLP Environmental เป็นบริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับรางวัลระดับอาเซียน มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยง โดยมีบริการให้คำปรึกษาครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัท SLP Environmental มีประสบการณ์ครอบคลุมการให้บริการด้านการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งตอบสนองกลุ่มลูกค้าในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการทั่วทั้งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศเมียนมาร์ เรามีบริการที่หลากหลายและทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยทีมงานจากหลายสาขาวิชา ทั้งทีมงานนานาชาติ ทีมงานประจำประเทศ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ทางนิเวศวิทยาและสังคม ในการจัดทำ EIA ผู้เชี่ยวชาญของ SLP มีบริการให้คำปรึกษาซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายภายในประเทศรวมถึงเป็นไปตามมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของผู้สนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการ เช่น IFC ADB และ international investment banks

บริษัท SLP Environmental ได้จดทะเบียนและได้รับการอนุมัติองค์กรจาก Ministry of Natural Resources and Environmental Conservation (MONREC) ให้เป็นผู้มิสิทธิในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Impacts Assessment: ESIA) และแผนบริหารจัดการและตรวจติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Management and Monitoring Plan: ESMMP) สำหรับโครงการศึกษาภายในประเทศพม่า

บริษัท SLP Environmental มีประสบการณ์ในการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาและการจัดทำรายงานสำหรับโครงการที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อ่อนไหวทางชายฝั่งทะเลและหมูเกาะ ทั้งโครงการในบริเวณกลุ่มเกาะมะริดและทวาย (ประเทศพม่า) บาหลี (ประเทศอินโดนีเซีย) สีหนุวิลล์ (ประเทศกัมพูชา) และเกาะกูด (ประเทศไทย)

ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ info@slpenvironmental.com