โรงงานหล่อเหล็ก, ประเทศไทย
บริษัทที่ปรึกษาเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล (ประเทศไทย) ได้รับว่าจ้างให้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ สิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 (การตรวจสอบพื้นที่เชิงลึก) ที่โรงงานหล่อเหล็กซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอีสเทิร์นซีบอร์ด ประเทศไทย เพื่อเป็นการประเมินว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในอดีตและ/หรือปัจจุบันบนพื้นที่ศึกษาส่งผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดิน หรือไม่ โดยการดำเนินการดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากผู้ที่กำลังจะซื้อพื้นที่ดังกล่าว และโครงการนี้เป็นส่วน หนึ่งของขั้นตอนการประเมินทรัพย์สินทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อนการซื้อขาย
การตรวจสอบพื้นที่เชิงลึกในการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 นี้ มุ่งเน้นไปที่จุดที่มีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งถูกกำหนดขึ้นจากการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 หรือการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ขอบเขตของการปฏิบัติงานประกอบด้วยการขุดหลุมสำรวจพื้นที่ที่คาดว่ามีความเสี่ยงลงไปที่ระดับความลึกประมาณ 5 เมตรจากผิวดิน และการเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งห้องปฏิบัติการเพื่อดำเนินการวิเคราะห์หาสิ่งปนเปื้อนต่อไป
ท่อสังเกตการณ์น้ำใต้ดินในบ่อดังกล่าวถูกติดตั้งในหลุมที่มีการเก็บตัวอย่างดินไปแล้ว โดยให้มีการพัฒนาและสูบน้ำแรกออกก่อนตามหลักการปฏิบัติสากล เพื่อให้ตัวอย่างน้ำใต้ดินที่เก็บนั้นเป็นตัวแทนที่เหมาะสมที่สุดของน้ำใต้ดินบริเวณนั้น ก่อนการเก็บตัวอย่างทางภาคสนามได้มีการตรวจวัดพารามิเตอร์ เช่น pH conductivity และ dissolved oxygen เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำก่อนเก็บตัวอย่างน้ำใต้ดินเพื่อส่งวิเคราะห์ต่อไป ตัวอย่างดินและน้ำใต้ดินที่เก็บมาถูกส่งไปทดสอบทางด้านสิ่งแวดล้อมตามพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์หาสารเคมีอินทรีย์และสารเคมีอนินทรีย์อันประกอบด้วยโลหะหนัก สารระเหย และสารกึ่งระเหยอย่างถูกต้องตามหลักการวิเคราะห์สากล ณ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจากสถาบันชั้นนำ นอกจากนี้ยังมีการสำรวจทางภูมิศาสตร์ของระดับน้ำใต้ดินของบ่อสังเกตการณ์แต่ละบ่อเทียบกับระดับน้ำทะเล เพื่อนำข้อมูลไปหา hydraulic gradient และประมวลทิศทางการไหลของน้ำใต้ดินต่อไป
ผลการตวจสอบดินและน้ำใต้ดินของตัวอย่างถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่แจ้งโดยกรมควบคุมมลพิษเพื่อประเมินกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโรงงานทั้งในอดีตและปัจจุบันต่อการปนเปื้อนของดินจากนั้นจึงจัดทำรายงานประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมเชิงลึกซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมเชิงคุณภาพที่ส่งผลต่อ มนุษย์และตัวรับความเสี่ยงทางธรรมชาติควบคู่กับการประเมินระดับของความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยรวมของพื้นที่ศึกษา ทั้งนี้ เรายังแนะนำการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้เพื่อควบคุมความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอีกด้วย