อดีตโรงงานผลิต Procter & Gamble (P&G) จังหวัดสมุทรปราการประเทศไทย
ทีมงานเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 (การสำรวจพื้นที่เชิงลึก) ภายในบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย การประเมินครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมการซื้อขาย เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาการซื้อที่ดิน โดยจุดประสงค์หลักของการตรวจสอบครั้งนี้เพื่อประเมินว่ากิจกรรมและการปฏิบัติงานในอดีตนั้นส่งผลให้มีการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินในพื้นที่หรือไม่
การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 ESA ได้ดำเนินการโดยยึดหลักการตามมาตรฐาน ASTM E1903 -11: Standard Practice for Environmental Site Assessments: Phase II Environmental Site Assessment Process รวมไปถึงการตรวจทานเล่มรายงานการประเมินพื้นที่ขั้นที่ 1 และ 2 ของทางเจ้าของพื้นที่ตามที่ลูกค้าต้องการ จากการตรวจสอบรายงานพบว่ามีหลายจุดของการดำเนินงานที่ถูกละเลย รวมถึงข้อมูลการปนเปื้อนในพื้นที่มีความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ทางเอสแอลพีจึงได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความแม่นยำและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เอสแอลพีได้จัดทำ Statement of Objectives เพื่อให้ทางลูกค้าได้พิจารณา และได้วางแผนการตรวจสอบพื้นที่ในบริเวณที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนจากข้อมูลที่ได้ตรวจสอบไปในข้างต้น โดยขอบเขตการดำเนินงานนั้นรวมไปถึง การเจาะหลุมสำรวจจากพื้นคอนกรีตลึกลงไปประมาณ 5-7 เมตรใต้พื้นดิน จำนวน 3 จุดในพื้นที่ศึกษา และมีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025 เพื่อหาสารปนเปื้อน
ติดตั้งบ่อสังเกตการณ์ชั่วคราวในหลุมที่ได้เจาะไว้ จากนั้นทำการวัดค่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น pH ค่าการนำไฟฟ้า (EC) ปริมาณออกซิเจนละลาย (DO) และตามด้วยการเก็บตัวอย่างน้ำบาดาลโดยใช้ Teflon bailers รวมไปถึงการสำรวจตำแหน่งบ่อน้ำบาดาลและความลาดชันของพื้นที่ เพื่อระบุทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน โดยทุกขั้นตอนการตรวจสอบและการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้น ทางเรามีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวดตลอดการศึกษา
ผลการตรวจสอบจากทางห้องปฏิบัติการจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของประเทศไทย และ USEPA เพื่อระบุสถานะการปนเปื้อนของพื้นที่ ในส่วนของรายงานการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 ที่จัดทำขึ้นนั้นมีรายละเอียดข้อมูลเต็มรูปแบบและมีข้อสรุปที่ชัดเจน รวมถึงข้อแนะนำและปรับปรุงการจัดอันดับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ศึกษา