บริการการศึกษาด้านนิเวศวิทยาและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืช

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ให้บริการประเมินด้านนิเวศวิทยาและที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การประเมินผลทางนิเวศวิทยาขั้นต้นขั้นที่ 1 ไปจนถึงการศึกษาทางนิเวศวิทยาขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงลึกโดยเน้นการสำรวจเชิงนิเวศที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบประชากรและการเปลี่ยนแปลงเฉพาะกลุ่ม

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล มีประสบการณ์มากมายในการให้บริการประเมินทางนิเวศวิทยาขั้นตอนที่ 1 ซึ่งการประเมินทางนิเวศวิทยานั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อีกทั้งสมาคมระหว่างประเทศเพื่อการประเมินผลกระทบ (IAIA, 2005) ได้มีคำแนะนำให้มีการคัดกรองทางนิเวศวิทยาเป็นขั้นตอนแรกในการประเมินผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอันเนื่องมาจากการดำเนินของโครงการอีกด้วย สำหรับการศึกษาด้านนิเวศวิทยาขั้นที่ 1 เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้ทำการปรับเปลี่ยนวิธีการที่ถูกพัฒนาโดยสถาบันการจัดการด้านนิเวศวิทยา (Chartered Institute for Ecology and Ecological Management, CIEEM) เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการ “สำรวจและการประเมินเชิงนิเวศเบื้องต้นสำหรับโครงการ” (CIEEM, 2013)

การประเมินด้านนิเวศวิทยาขั้นที่ 1 เป็นการสำรวจเพื่อบันทึกรูปแบบและตำแหน่งของพืชพรรณและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง โดยใช้วิธีสำรวจอย่างเร่งด่วน (Rapid Survey Method) โดยวิธีการสำรวจอย่างเร่งด่วนนั้นเหมาะสำหรับโครงการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่

การประเมินด้านนิเวศวิทยาขั้นที่ 1 ประกอบด้วยขั้นตอนการสำรวจสองขั้นตอนหลัก คือ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นและการลงพื้นที่สำรวจโครงการและการจัดทำแผนที่เชิงนิเวศวิทยา การประเมินด้านนิเวศวิทยาขั้นที่ 1 เป็นการสำรวจเพื่อบันทึกรูปแบบและตำแหน่งของพืชพรรณและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง โดยใช้วิธีสำรวจอย่างเร่งด่วน (Rapid Survey Method) โดยวิธีการสำรวจอย่างเร่งด่วนนั้นเหมาะสำหรับโครงการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนข้อมูลที่ได้จากศึกษาเบื้องต้นหรือข้อมูลจากการลงสำรวจพื้นที่โครงการและข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่บริเวณโดยรอบโครงการจะถูกนำมาใช้เพื่อจำแนกสภาพปัจจุบันของคุณค่าเชิงนิเวศทางบกในบริเวณพื้นที่โครงการและใช้ประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดผลกระทบต่อสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น

  • ความเหมาะสมสภาพถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต
  • การคาดการณ์การกระจายตัวของสิ่งมีชีวิต
  • ความชุกชุมของสิ่งมีชีวิต
  • ฐานข้อมูลสภาพนิเวศวิทยาที่มีอยู่ระดับภูมิภาค
  • การเพิ่มขึ้นของถิ่นที่อยู่ที่เหมาะสมของสิ่งมีชีวิต
  • การสังเกตและบันทึกข้อมูลเบื้องต้นที่ระบุถึงการมีอยู่ของชนิดพันธุ์อนุรักษ์ในพื้นที่โครงการ

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้ทำการปรับเปลี่ยนวิธีการที่ถูกพัฒนาโดยสถาบันการจัดการด้านนิเวศวิทยา (Chartered Institute for Ecology and Ecological Management, CIEEM) เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการ “สำรวจและการประเมินเชิงนิเวศเบื้องต้นสำหรับโครงการ

โดยชนิดสายพันธุ์อนุรักษ์ที่สำคัญจะถูกจำแนกไปตามโอกาสที่จะถูกพบ โดยแบ่งออกเป็น มีแนวโน้มพบเจอได้ต่ำ, มีแนวโน้มพบเจอได้ปานกลาง และมีแนวโน้มที่จะพบเจอได้สูงหรือยืนยันว่ามีอยู่ในพื้นที่ศึกษา ดังนั้นแผนที่คัดกรองความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความสำคัญและเป็นส่วนช่วยในการทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างสภาพแวดล้อมทางชีวภาพกับกิจกรรมของโครงการ

หากการประเมินระบบนิเวศขั้นที่ 1 นั้นบ่งชี้ให้เห็นถึงหลักฐานของการปรากฏตัวของสายพันธุ์หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์, สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เฉพาะถิ่น หรือสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษภายในพื้นที่ศึกษาของโครงการ เจ้าของโครงการต้องดำเนินการสำรวจทางนิเวศวิทยาขั้นที่ 2 ต่อไป การสำรวจทางนิเวศวิทยาขั้นที่ 2 นั้น เป็นการศึกษาเชิงลึกมากขึ้นเพื่อเป็นการยืนยันถึงการมีอยู่ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตหรือถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยขั้นตอนการดำเนินการสำรวจทางนิเวศวิทยาขั้นที่ 2 อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการศึกษาจากฐานข้อมูลที่มีอยู่หรือจากข้อมูลของคนท้องถิ่น ทางเจ้าของโครงการอาจต้องเพิ่มวิธีการศึกษาแบ่งตามช่วงฤดูกาล และรวมไปถึงการใช้กับดักหรือการใช้เครื่องมือตรวจชนิดพิเศษเฉพาะสายพันธุ์ เช่น การใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิก หรือการใช้กล้องตรวจจับการเคลื่อนไหว เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของการสำรวจทางนิเวศวิทยาในขั้นตอนที่ 2 คือการยืนยันการปรากฏตัวหรือหาแนวโน้มการไม่ปรากฎตัวของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์, สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เฉพาะถิ่นหรือสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษและเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสายพันธุ์นั้น ๆ (หากพบอยู่ในพื้นที่) ว่าอาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของโครงการอย่างไรบ้าง ซึ่งในกรณีของพืชพรรณ การจัดทำแผนที่เชิงนิเวศจำเป็นต้องมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นแผนที่คัดกรองความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความสำคัญและเป็นส่วนช่วยในการทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างสภาพแวดล้อมทางชีวภาพกับกิจกรรมของโครงการ

ในบางกรณี เจ้าของโครงการอาจได้รับคำแนะนำให้ทำการสำรวจนิเวศวิทยาขั้นที่ 3 ซึ่งการศึกษาในขั้นที่ 3 นั้นคือการสำรวจที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเจาะจงในการศึกษาสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งหรือสภาพความเป็นอยู่ของสายพันธุ์นั้นๆ เช่น จำนวนประชากรและสภาพความเป็นอยู่ของสายพันธุ์ที่ทำการศึกษาที่มีแนวโน้มจะปรากฏในพื้นที่ หรือจำนวนประชากรของสายพันธุ์ที่อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ และในบางครั้งเจ้าของโครงการอาจต้องทำการสำรวจพื้นที่โดยรอบที่เป็นพื้นที่ที่ต่อเนื่องกับพื้นที่โครงการ เพื่อระบุอาณาเขตพื้นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ที่ศึกษาว่าจำกัดอยู่เพียงในพื้นที่โครงการหรือเป็นส่วนหนึ่งของประชากรของสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ภายนอกพื้นที่โครงการ และเพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้นถึงคุณค่าความสัมพันธ์ระหว่างสภาพธรรมชาติและความเป็นอยู่ของสายพันธุ์ที่ศึกษานอกเหนือจากพื้นที่โครงการอีกด้วย

งานบริการหลัก

  • การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางนิเวศวิทยา
  • การประเมินระบบนิเวศเบื้องต้นขั้นที่ 1
  • การสำรวจทางนิเวศวิทยาขั้นที่ 2 และ 3
  • การคัดกรองความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดทำแผนที่เชิงนิเวศวิทยา
  • การสำรวจภาคพื้นดิน
  • การสำรวจพันธุ์พืชและสัตว์
  • การสำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านระบบนิเวศวิทยาทางบก, ทางน้ำและทางทะเล
  • ดัชนีทางชีวภาพและการสำรวจสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่
  • การประเมินความเป็นไปได้ในการเกิดผลกระทบ
  • การศึกษาที่สอดคล้องกับการจัดการด้านนิเวศวิทยา (CIEEM)

โครงการที่โดดเด่น